ตอบ รัฐบาลมีนโยบายเปิดการค้าเสรีทั้งในกรอบทวิภาคี และพหุภาคี อาทิ เขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA)
ไทย-ออสเตรเลีย ไทย-นิวซีแลนด์ ไทย-ญี่ปุ่น อาเซียน-จีน อาเซียน-ญี่ปุ่น เป็นต้น ซึ่งการเปิดเขตการค้าเสรี
ดังกล่าว โดยรวมแล้วประเทศไทยได้รับประโยชน์ แต่จะมีสินค้าเกษตรบางกลุ่มของไทยได้รับผลกระทบ
ซึ่งความรุนแรงของผลกระทบต่อสินค้าเกษตรแต่ละชนิดแตกต่างกันไปตามความสามารถในการแข่งขันของ
ชนิดสินค้า ดังนั้นเพื่อให้เกษตรกรมีการปรับตัวโดยผลิตสินค้าที่มีศักยภาพมากขึ้น เพิ่มผลผลิตต่อหน่วย
ผลิตสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและเพิ่มมูลค่าจากสินค้ามูลค่าต่ำไปสู่การผลิตสินค้ามูลค่าสูง รวมทั้ง
เพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการตลาด
ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้จัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพตลอดจนการแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้ง ช่วยเหลือให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตจากสินค้าที่ ไม่มีศักยภาพสู่สินค้าที่มีศักยภาพ
ดังนั้น คณะรัฐมนตรีจึงได้มีมติ เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2547 ให้จัดตั้งกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต พัฒนาคุณภาพตลอดจนการแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหาร รวมทั้ง ช่วยเหลือให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนการผลิตจากสินค้าที่ ไม่มีศักยภาพสู่สินค้าที่มีศักยภาพ
ตอบ เพื่อปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตร ปฏิรูปผลิตผลทางการเกษตร เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
พัฒนาคุณภาพ ตลอดจนการแปรรูป การสร้างมูลค่าเพิ่มของสินค้าเกษตรและอาหาร และช่วยเหลือให้เกษตรกรปรับเปลี่ยนจากการผลิตสินค้าที่ไม่มีศักยภาพไปสู่สินค้าที่มีศักยภาพ รวมทั้งประกอบอาชีพอื่นด้วย
ตอบ กองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
จะจ่ายเงินภายใต้วัตถุประสงค์ของกองทุนฯ ในลักษณะเงินหมุนเวียนหรือเงินจ่ายขาด เพื่อดำเนินกิจกรรม
ดังต่อไปนี้
1. สนับสนุนสินเชื่อ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี
2. สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา
3. ให้ความรู้ ฝึกอบรม และดูงาน
4. ให้การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร
5. ปรับเปลี่ยนอาชีพ
6. รายจ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
1. สนับสนุนสินเชื่อ ปัจจัยการผลิตและเทคโนโลยี
2. สนับสนุนงานวิจัยและพัฒนา
3. ให้ความรู้ ฝึกอบรม และดูงาน
4. ให้การสนับสนุนด้านโครงสร้างพื้นฐานการเกษตร
5. ปรับเปลี่ยนอาชีพ
6. รายจ่ายอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร
ตอบ กรณีที่เป็นการใช้จ่ายเงินจากกองทุนฯ ทั้งหมดหรือบางส่วน กองทุนฯ จะจ่ายเงินให้ใน 2 ลักษณะ
ได้แก่
1. เงินจ่ายขาด ให้เฉพาะกรณีหรือค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้
1) ค่าปัจจัยการผลิตในกรณีทดลอง/สาธิต/นำร่อง
2) ค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับงานวิจัย ต้องเป็นงานวิจัยประยุกต์ หรือการวิจัยด้านการตลาด และ ต้องไม่เป็นโครงการวิจัยขั้นพื้นฐาน
3) ค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดเทคโนโลยี อาทิ การฝึกอบรม การสัมมนา การศึกษาดูงานใน ประเทศ
4) ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน หรือค่าบริหารโครงการของหน่วยงานราชการตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด หรือตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ของงบประมาณ โครงการ
5) ค่าใช้จ่ายต่างๆ นอกเหนือจากที่ระบุใน 1) 2) 3) และ4) ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารกองทุน
2. เงินยืม/เงินหมุนเวียน ให้เฉพาะกรณีหรือค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้
1) ค่าลงทุนต่างๆ อาทิ ค่าก่อสร้างโรงเรือน/โรงงาน ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ ฯลฯ
2) ค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการผลิต
***กรณีกู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กองทุนจะชดเชยดอกเบี้ยให้ทั้งหมดหรือบางส่วนทั้งนี้ วงเงินให้ยืมและกำหนดการชำระคืนให้เป็นไปตามลักษณะการดำเนินงาน/ตามความจำเป็นของแต่ละโครงการ
1. เงินจ่ายขาด ให้เฉพาะกรณีหรือค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้
1) ค่าปัจจัยการผลิตในกรณีทดลอง/สาธิต/นำร่อง
2) ค่าใช้จ่ายต่างๆ สำหรับงานวิจัย ต้องเป็นงานวิจัยประยุกต์ หรือการวิจัยด้านการตลาด และ ต้องไม่เป็นโครงการวิจัยขั้นพื้นฐาน
3) ค่าใช้จ่ายในการถ่ายทอดเทคโนโลยี อาทิ การฝึกอบรม การสัมมนา การศึกษาดูงานใน ประเทศ
4) ค่าใช้จ่ายดำเนินงาน หรือค่าบริหารโครงการของหน่วยงานราชการตามหลักเกณฑ์ที่ คณะกรรมการบริหารกองทุนกำหนด หรือตามที่จ่ายจริงแต่ไม่เกินร้อยละ 3 ของงบประมาณ โครงการ
5) ค่าใช้จ่ายต่างๆ นอกเหนือจากที่ระบุใน 1) 2) 3) และ4) ให้อยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการบริหารกองทุน
2. เงินยืม/เงินหมุนเวียน ให้เฉพาะกรณีหรือค่าใช้จ่าย ดังต่อไปนี้
1) ค่าลงทุนต่างๆ อาทิ ค่าก่อสร้างโรงเรือน/โรงงาน ค่าเครื่องมืออุปกรณ์ ฯลฯ
2) ค่าใช้จ่ายหมุนเวียนในการผลิต
***กรณีกู้ยืมจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร กองทุนจะชดเชยดอกเบี้ยให้ทั้งหมดหรือบางส่วนทั้งนี้ วงเงินให้ยืมและกำหนดการชำระคืนให้เป็นไปตามลักษณะการดำเนินงาน/ตามความจำเป็นของแต่ละโครงการ
ตอบ 1. เกษตรกรผู้ประกอบเกษตรกรรม และให้หมายความถึงกลุ่มหรือคณะบุคคลที่รวมตัวกัน เพื่อ
วัตถุประสงค์ในการประกอบเกษตรกรรมโดยจะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ก็ได้
2. สถาบัน องค์กร ที่เป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์ดำเนินงานด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก
3. หน่วยงานของรัฐ ในระดับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และให้ หมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
2. สถาบัน องค์กร ที่เป็นนิติบุคคล และมีวัตถุประสงค์ดำเนินงานด้านเกษตรกรรมเป็นหลัก
3. หน่วยงานของรัฐ ในระดับกระทรวง ทบวง กรม ราชการส่วนภูมิภาค รัฐวิสาหกิจ และให้ หมายความรวมถึงหน่วยงานของรัฐที่เรียกชื่อเป็นอย่างอื่นที่จัดตั้งโดยพระราชบัญญัติหรือพระราชกฤษฎีกา
ตอบ 1. เป็นสินค้าเกษตรที่อยู่ในกลุ่มกำหนดโควตาภาษี (TRQ) 23 รายการ ได้แก่ ชา เมล็ดกาแฟ กาแฟ
สำเร็จรูป น้ำนมดิบ/นมพร้อมดื่ม นมผงขาดมันเนย มะพร้าว เนื้อมะพร้าวแห้ง น้ำมันมะพร้าว เมล็ดถั่วเหลือง
ข้าว ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ น้ำมันปาล์มและน้ำมันในเมล็ดปาล์ม น้ำมันถั่วเหลือง ลำไยแห้ง พริกไทย ไหมดิบ
กระเทียม กากถั่วเหลือง หอมหัวใหญ่ เมล็ดพันธุ์หอมหัวใหญ่ มันฝรั่ง น้ำตาล และใบยาสูบ
2. พิจารณาจากสถิติการนำเข้าเปรียบเทียบก่อนและหลังการเปิดเสรีทางการค้า ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น อย่างผิดปกติ
3. พิจารณาจากราคาสินค้าเกษตรชนิดนั้นๆ ภายในประเทศ ที่ลดลงอย่างผิดปกติ เปรียบเทียบก่อนและหลังจากการเปิดเสรีทางการค้า
4. พิจารณาจากต้นทุนการผลิตต่อหน่วย โดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง
5. มีรายงานผลการศึกษาวิจัยของหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ ยืนยันการ ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
6. พิจารณาจากส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศที่ลดลง
7. พิจารณาจากเป็นสินค้าที่คณะกรรมการ/อนุกรรมการ กำหนด
2. พิจารณาจากสถิติการนำเข้าเปรียบเทียบก่อนและหลังการเปิดเสรีทางการค้า ที่มีการนำเข้าเพิ่มขึ้น อย่างผิดปกติ
3. พิจารณาจากราคาสินค้าเกษตรชนิดนั้นๆ ภายในประเทศ ที่ลดลงอย่างผิดปกติ เปรียบเทียบก่อนและหลังจากการเปิดเสรีทางการค้า
4. พิจารณาจากต้นทุนการผลิตต่อหน่วย โดยเปรียบเทียบกับประเทศคู่แข่ง
5. มีรายงานผลการศึกษาวิจัยของหน่วยงานของรัฐ หรือสถาบันการศึกษาที่เป็นที่ยอมรับ ยืนยันการ ได้รับผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า
6. พิจารณาจากส่วนแบ่งตลาดภายในประเทศที่ลดลง
7. พิจารณาจากเป็นสินค้าที่คณะกรรมการ/อนุกรรมการ กำหนด
ตอบ 1) วิธีการเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนปรับโครงสร้างการผลิตภาคเกษตรเพื่อเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของประเทศ
1.1 ชื่อโครงการ หรืองาน หรือกิจกรรม
1.2 ชื่อเจ้าของโครงการ หรือหน่วยงานรับผิดชอบ
1.3 หลักการและเหตุผล
1.4 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.5 วิธีดำเนินงาน
1.6 ขอบเขตการดำเนินงาน
1.7 ระยะเวลาดำเนินงาน หรือแผนปฏิบัติงาน
1.8 งบประมาณ หรือแผนการใช้เงิน หรือแผนการคืนเงิน
1.9 ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.10 กรอบแนวทางการจัดการปัญหา หรือความเสี่ยงของโครงการ
1.11 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.12 อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ กำหนด
2) การเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ แบ่งเป็น 2 กรณี ดังน
2.1 เกษตรกร/สถาบันเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร เป็นผู้เสนอโครงการ
กรณีโครงการงาน หรือกิจกรรมที่เสนอโดยเกษตรกร สถาบันเกษตรกร หรือองค์กร เกษตร ซึ่งต้องได้รับผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการเปิดเสรีทางการค้า และหากเป็นเกษตรกรต้อง เสนอในนามของสถาบันเกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับการยอมรับจากส่วนราชการ โดยผู้เสนอ โครงการจะต้องขอรับการสนับสนุนผ่านส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ เพื่อให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบกำกับ ดูแลการปฏิบัติงานการใช้เงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.2 ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้เสนอโครงการ
กรณีโครงการงาน หรือกิจกรรมที่เสนอโดยหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นโครงการ งาน หรือ กิจกรรมที่ดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) และเป็น โครงการที่เกิดจากความต้องการหรือการมีส่วนร่วมของเกษตรกร
1.1 ชื่อโครงการ หรืองาน หรือกิจกรรม
1.2 ชื่อเจ้าของโครงการ หรือหน่วยงานรับผิดชอบ
1.3 หลักการและเหตุผล
1.4 วัตถุประสงค์ของโครงการ
1.5 วิธีดำเนินงาน
1.6 ขอบเขตการดำเนินงาน
1.7 ระยะเวลาดำเนินงาน หรือแผนปฏิบัติงาน
1.8 งบประมาณ หรือแผนการใช้เงิน หรือแผนการคืนเงิน
1.9 ตัวชี้วัดความสำเร็จ
1.10 กรอบแนวทางการจัดการปัญหา หรือความเสี่ยงของโครงการ
1.11 ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1.12 อื่นๆ ตามที่คณะกรรมการบริหารกองทุนฯ กำหนด
2) การเสนอขอรับการสนับสนุนจากกองทุนฯ แบ่งเป็น 2 กรณี ดังน
2.1 เกษตรกร/สถาบันเกษตรกร/องค์กรเกษตรกร เป็นผู้เสนอโครงการ
กรณีโครงการงาน หรือกิจกรรมที่เสนอโดยเกษตรกร สถาบันเกษตรกร หรือองค์กร เกษตร ซึ่งต้องได้รับผลกระทบโดยตรงหรือโดยอ้อมจากการเปิดเสรีทางการค้า และหากเป็นเกษตรกรต้อง เสนอในนามของสถาบันเกษตรกรหรือองค์กรเกษตรกรที่ได้รับการยอมรับจากส่วนราชการ โดยผู้เสนอ โครงการจะต้องขอรับการสนับสนุนผ่านส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบ เพื่อให้ส่วนราชการ หรือหน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบกำกับ ดูแลการปฏิบัติงานการใช้เงินให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของโครงการ
2.2 ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐเป็นผู้เสนอโครงการ
กรณีโครงการงาน หรือกิจกรรมที่เสนอโดยหน่วยงานของรัฐ ต้องเป็นโครงการ งาน หรือ กิจกรรมที่ดำเนินการปรับโครงสร้างการผลิตเพื่อลดผลกระทบจากการเปิดเสรีทางการค้า (FTA) และเป็น โครงการที่เกิดจากความต้องการหรือการมีส่วนร่วมของเกษตรกร